ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา False diasy
False diasy
Eclipta prostrata (L.) L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Compositae (Asteraceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Eclipta prostrata (L.) L.
 
  ชื่อไทย กะเม็ง, หญ้าฮ่อมเกี่ยว
 
  ชื่อท้องถิ่น ฮ่อมเกี่ยว(ลั้วะ,ขมุ), หญ้าฮ่อมเกี่ยว(คนเมือง), ผักเกี่ยวหม้อ(ลั้วะ), ฮ่อมเกี่ยวใหญ่(ไทลื้อ), ยาฮงเก่ว(ปะหล่อง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 4 – 32 นิ้ว ลักษณะลำต้นมีขนหรือบางต้นก็ค่อนข้างเกลี้ยง ลำต้นมีกิ่งก้านแตกที่โคนต้น
ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปหอก ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบ ริมขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ผิวเนื้อใบเกลี้ยง ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.5 – 2.5 ซม. ยาวประมาณ 3 – 10 ซม. ก้านใบไม่มี
ดอก ดอกออกเป็นกระจุก ลักษณะของดอกมีกลีบดอกสีขาว ดอกวงในโคนดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อยาวประมาณ 2 มม. ส่วนปลายจะหยักเป็น 4 แฉก ดอกในวงนอกเป็นรูปรางน้ำยาวประมาณ 2.5 มม. ปลายดอกหยักเป็น 2 แฉก ก้านดอกเรียวยาว ยาวประมาณ 2 – 4.5 ซม.
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปลูกข่าง มีสีดำ ปลายมีรยางค์เป็นเกล็ดยาวประมาณ 3 มม. ขนาดของผลกว้างประมาณ 1.5 มม. ยาวประมาณ 3 – 3.5 มม.[1]
 
  ใบ ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปหอก ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบ ริมขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ผิวเนื้อใบเกลี้ยง ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.5 – 2.5 ซม. ยาวประมาณ 3 – 10 ซม. ก้านใบไม่มี
 
  ดอก ดอก ดอกออกเป็นกระจุก ลักษณะของดอกมีกลีบดอกสีขาว ดอกวงในโคนดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อยาวประมาณ 2 มม. ส่วนปลายจะหยักเป็น 4 แฉก ดอกในวงนอกเป็นรูปรางน้ำยาวประมาณ 2.5 มม. ปลายดอกหยักเป็น 2 แฉก ก้านดอกเรียวยาว ยาวประมาณ 2 – 4.5 ซม.
 
  ผล ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปลูกข่าง มีสีดำ ปลายมีรยางค์เป็นเกล็ดยาวประมาณ 3 มม. ขนาดของผลกว้างประมาณ 1.5 มม. ยาวประมาณ 3 – 3.5 มม.[1]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อน นึ่งเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือนำไปแกง(ลั้วะ)
- ทั้งต้น นำมาหมกไฟรวมกับหญ้าเอ็นยืด แล้วนำมานวด แก้อาการปวดเมื่อย(ลั้วะ)
ยอดอ่อน นำมา 3-7 ยอด ลนไฟจนเหี่ยว แล้วนำไปคั้นกับน้ำที่ต้มไว้แล้ว กรองเอาน้ำใสๆ ผสมกับยาลม ยาผงแดง กินแก้ไข้ ไม่สบายตัว หรือมีอาการชัก(คนเมือง)
ใบ ทุบแล้วแช่น้ำรวมกับตะไคร้ เมล็ดถั่วเหลืองและก้านผลฟักทอง ดื่มแก้อาการลมชัก เนื่องจากมีไข้สูง(ปะหล่อง)
ใบ ทุบผสมกับไพล ตะไคร้ ฮ่อมเกี่ยวน้อยและฮ่อม ห่อด้วยผ้าแล้วใช้เป็นยาประคบแก้อาการปวดเมื่อย(ไทลื้อ)
ราก ต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดท้อง ใช้ร่วมกับรวมกับพืชอีกหลายชนิด(ขมุ)
- ลำต้น ใช้เป็นยาฝาดสมาน บำรุงอวัยวะเพศ แก้ตกขาว โรคมะเร็ง คอตีบ ปัสสาวะเป็นโลหิต ไอเป็นโลหิต อุจาระเป็นโลหิต อาเจียนเป็นโลหิต โรคลำไส้อักเสบ บำรุงไต วิธีใช้ด้วยการนำมาต้มเอาน้ำดื่ม หรือนำลำต้นมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำหอม ใช้สูดดม แก้โรคดีซ่านและแก้ไข้หวัด และเมื่อนำมาผสมกับพริกไทยและน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นกลอนเล็ก ๆ ใช้กินเป็นยาบำรุงร่างกายให้แข็งแรง แก้ปวดเมื่อย
ใบ นำใบสดมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใช้ใส่ผม ช่วยทำให้ผมดก ดำเป็นมัน และยังแก้ผมหงอกก่อนวัย เมื่อนำมาผสมกับน้ำผึ้งกิน เป็นยาแก้โรคหวัด น้ำมูก
ไหลใช้กับทารก ตำเอากากมาพอกบริเวณแผลฟกช้ำ แผลไฟไหม้ แผลห้ามโลหิต และเป็นยาแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน จากเชื้อรา
ดอกและใบ ใช้ต้มแล้วนำมาทา ในบริเวณเหงือก หรือฟันที่ปวด
ราก ใช้ต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้โรคเลือดจาง โรคปอด ท้องร่วง โรคบิด หอบหืด หลอดลมอักเสบ ตับอักเสบ อาการแน่นหน้าอก และรักษาโรคเกี่ยวกับตา[1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง